27/2 Soi Samaedam 21, Rama ll Road.,,
Samaedam, Bangkhuntien, Bangkok 10150

 

         มีคำๆหนึ่ง ที่มีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในวงการพลาสติก ระหว่างผู้ผลิต Color Masterbatch หรือ Drycolor (สีผง) กับผู้ใช้งานสีทั้ง 2 ประเภทนี้. นั้นก็คือความว่า Dispersion. ผมได้ยินบ่อยๆที่ลูกค้า(ผู้ใช้สี)ในวงการพลาสติก มักจะใช้คำว่า dispersion ในความหมายที่หมายถึง "การกระจายตัวของสารสีในชิ้นงานพลาสติก" ซึ่งมักจะหมายถึงอาการที่ ความเข้มของสี ไม่สม่ำเสมอทั่วชิ้นงานพลาสติก เช่น มีริ้วของสี เข้ม-อ่อน ไม่เท่ากัน ในแต่ละจุดของชิ้นงานพลาสติกชิ้นนั้นๆ จากการใช้ Color MB & Drycolor.

       ซึ่งโดยแท้จริงแล้วอาการที่ว่า ไม่ตรงกับคำว่า Dispersion. คำว่า Dispersion จริงๆแล้ว มีคำแปลที่ถูกต้องในวงการสี คือ " the separation of particles of pigment from each other ". หากจะหาคำภาษาไทยมาเทียบเคียงกับคำว่า Dispersion คำว่า "การแตกตัว" น่าจะให้ความหมายใกล้เคียงมากกว่าครับ.

       ส่วนอาการที่ อนุภาคของสารสี (pigment) ไม่สม่ำเสมอ ในชิ้นงานพลาสติก ที่ถูกต้อง ต้องแทนด้วยคำว่า "Pigment Distribution"This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
 

#สีเม็ด #สีผสมพลาสติก #masterbatch #seesan56 #dispersion #voidพลาสติกฟิลม์

 

 

 

 

 

        ได้คุยกับฝ่ายขาย ถึงปัญหาที่ลูกค้ารายหนึ่งพบอยู่. ฟังแล้วโดยย่อก็คือ เรื่อง Migration ตามความหมายในวงการพลาสติกที่เกี่ยวกับ "สารให้สี" (colorants) นั่นเอง. อาการของ Colorant Migration ก็มีความหมายละเอียดลงไปอีกหน่อย คือ

   1) Migration by "bleeding" is the migration of a colorant from one medium into another medium in contact with it.

   2) Migration by "blooming" is the migration of a colorant in a medium to the surface on which it forms visible efflorescence

      ในอาชีพคนทำ color masterbatch พวกเราสามารถทำการประเมิน "migration ของสารให้สี (pigments & dye stuff)" ในชิ้นงานพลาสติกได้ระดับหนึ่ง. คือการทำ Internal Test กับ Plasticizer ที่อยู่ใน Soft PVC และทำการกระตุ้นด้วยความร้อน เพื่อเร่งปฎิกริยา และดูผลการ migrate ของสารให้สี  ในชิ้นงานพลาสติกนั้นๆ.

      แต่ก็ยังมีอีกเรื่อง คือ การ test SML (Specific Migration Limit). อันนี้คือการ test เพื่อต้องการเจาะจงตรวจหาสารบางอย่าง จากชิ้นงานพลาสติก. ขึ้นอยู่กับว่าจะหาสารอะไรบ้าง เช่น ในประเทศไทย จะพูดถึงการทดสอบ ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม "ฉ. 295"  ซึ่งคือการทดสอบ โดยการนำชิ้นงานพลาสติก ไปทำการทดสอบแช่ในสารละลายหลักๆ 4 ตัว คือ กรด, ด่าง, น้ำ และ น้ำมันมะกอก และมีการกระตุ้นด้วยการให้ความร้อน. 4 สารนี้ เป็นตัวแทนของสารที่ใช่ปรุงแต่งรสชาติ ในอาหาร ครับ. หลังจากผ่านขั้นตอนการแช่ตามหลักเกณฑ์ และขั้นตอนการทดสอบ ที่ถูกกำหนดในหลักของมาตรฐานการทดสอบแบบ ฉ.295 แล้ว. ก็จะมาทำการหา สารที่ต้องการ  เช่น Lead (Pb), Cadmium (Cd),Mercury (Hg) ,Hexavalent Chromium (CrVI) ในของเหลว 4 ตัวนั้น และวัดเป็นตัวเลขที่จับต้องได้ในทางวิทยาศาสตร์ออกมา แล้วนำมาเปรียบเทียบกับค่าควมคุมตาม มาตรฐาน-ฉ.295 ตามลำดับ.

#pigmentmigration #colormigration #สีหลุดลอกในพลาสติก #seesan56

 

 

 

 

 

We color your business